“มื้อเช้า” สูงวัย ต้องได้กิน!!

538 Views  | 

“มื้อเช้า” สูงวัย ต้องได้กิน!!

ที่จริงแล้ว “มื้อเช้า” สำคัญสำหรับทุกคนและทุกวัย แต่ละช่วงวัยจะมีความต้องการสารอาหารไม่เท่ากัน แต่วันนี้เราโฟกัสเป็นพิเศษไปที่ผู้สูงวัย ซึ่งมีความต้องการสารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต และไขมัน น้อยกว่าช่วงวัยอื่น แต่กลับต้องการสารอาหารประเภท โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ในปริมาณเท่ากับตอนที่เป็นหนุ่มสาว ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าผู้สูงอายุต้องการสารอาหารจำพวกโปรตีนเพื่อมาเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อที่ลดลงตามธรรมชาติ และถ้าได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะทำการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อออกมาใช้ โดยในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อมวลกล้ามเนื้อและสุขภาพโดยรวมได้ ดังนั้น การกินอาหารเช้าเพื่อให้ได้รับพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอจึงสำคัญกับผู้สูงอายุมาก

นอกจากนี้ การกินอาหารเช้ายังต้องคำนึงถึงปริมาณด้วย หากทานน้อยไป จะรู้สึกหิวในภายหลัง ทำให้มื้อต่อไปมีความต้องการกินอาหารในปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้ จนกลายเป็นไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกายและอาจมีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

อาหารเช้าที่ดีของผู้สูงอายุ ควรคำนึงถึงสารอาหารจำพวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลาที่ให้โปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่าย ไข่ไก่หรือไข่เป็ดต้มสุก มีคุณค่าทางอาหารสูงและอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก หากเลือกดื่มนมควรเป็นนมพร่องมันเนย เพื่อเสริมแคลเซียม อีกสิ่งหนึ่งที่ควรกังวลคือเรื่องการขับถ่าย จำเป็นต้องได้รับผักและผลไม้ทุกวัน โดยถ้าเป็นผัก ควรต้มหรือนึ่งให้สุกก่อน ส่วนผลไม้ควรเป็นผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม เคี้ยวง่าย และไม่หวานเกินไป หากไม่สะดวกหรือไม่สามารถทานผักได้ ควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีไฟเบอร์ โดยเลือกสูตรที่ดื่มง่าย หวานน้อย ได้ไฟเบอร์สูงเพียงพอต่อวัน เช่น รสน้ำผึ้งมะนาว รสมิกซ์เบอร์รี่ ซึ่งส่วนใหญ่ไฟเบอร์ควรดื่มก่อนนอนเพื่อให้ขับถ่ายได้ตามปกติในตอนเช้า และไฟเบอร์ที่ดีไม่ควรมีอาการ ปวดท้อง ปวดบิด ขับถ่ายกระปริบกระปรอย แต่ควรถ่ายรอบเดียวจบ นอกจากการเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ น้ำเปล่าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ หากดื่มไฟเบอร์ ควรดื่มน้ำตาม 1- 2 แก้ว ทุกครั้งเพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น

ส่วนการรับประทานคาร์โบไฮเดรต ควรเลือกเป็น ข้าวกล้องและธัญพืช มากกว่าข้าวหรือแป้งที่ผ่านกระบวนการขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ตต้ม ขนมปังโฮลวีท ซุปต่างๆ เพราะมีใยอาหารสูงและยังมีวิตามินบีหนึ่ง วิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักขาดอีกด้วย และที่สำคัญผู้สูงอายุควรระวังการกินอาหารที่มีไขมันมากๆ เช่น ของทอด ของมัน เพราะอาจจะทำให้ท้องอืด แน่นท้อง และยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น ในการทำอาหารจึงควรเลือกใช้เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และเปลี่ยนการปรุงจาก การผัดหรือทอด เป็น การต้มหรือแกงที่ไม่ใส่กะทิแทน เพื่อสุขภาพที่ดีไม่มีโรคภัย


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.masterseniorhome.com/th/articles/16118

Powered by MakeWebEasy.com